วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนจัดการเรียนรู้ที่ ๖ เรียนรู้เรื่องดิน

หน่วยการเรียนรู้ ๓ เรื่อง  ดินในท้องถิ่นของเรา

รหัสวิชา ๑๖๑๐๑                                                                                กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔     แผนจัดการเรียนรู้ที่ ๖ เรียนรู้เรื่องดิน        เวลา  ๘  ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ ๑                    ผู้สอน  สุริยา อินอร                      โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๖ (ดอกคำใต้)
                                                                                                                             

๑.   สาระสำคัญ
        ดินเกิดจากหินที่ผุพังผสมกับซากพืชซากสัตว์ ในดินมีส่วนประกอบของเศษหิน อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดดินหลายชนิด พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตในดินที่แตกต่างกัน
๒.  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
.  ตัวชี้วัด
ว ๖.๑      ป.๔/๑    สำรวจและอธิบายการเกิดดิน
              ป.๔/๒   ระบุชนิดและสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชในท้องถิ่น          
ว ๘.๑     ป.๔/๑    ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ    
ป.๔/๒   วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ  หรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
        ป.๔/๓   เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
        ป.๔/๔   บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอผล สรุปผล
        ป.๔/๕   สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
        ป.๔/๖    แสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
        ป.๔/๗   บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
    ป.๔/๘     นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
๒.๒ จุดประสงค์การเรียนรู้
    ๑.    อธิบายกระบวนการเกิดของดินได้
    ๒.   อธิบายส่วนประกอบของดินได้
    ๓.   อธิบายลักษณะของชั้นดินได้
    ๔.   บอกลักษณะของดินในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชได้

๓.  สาระการเรียนรู้
๑.    กระบวนการเกิดดิน
.   ส่วนประกอบของดิน (อนินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุ น้ำ อากาศ)
๓.   การแบ่งดินตามชั้นดิน (ดินชั้นบน ดินชั้นล่าง)
๔.   ลักษณะของดิน (ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย)
๕.   สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
๔.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๔.๑ ความสามารถในการคิด
        -  ทักษะการคิดวิเคราะห์
        -  ทักษะการคิดสังเคราะห์
๔.๒    ความสามารถในการแก้ปัญหา
        -  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๔.๓   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
        -  กระบวนการทำงานกลุ่ม
๕.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.   มีวินัย
๒.  ใฝ่เรียนรู้
๓.  มุ่งมั่นในการทำงาน
๖.   กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์) 
                    ¹  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕
ชั่วโมงที่ ๑
๑.      ครูนำบัตรภาพลักษณะของดิน ๒ ภาพ มาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อ ดังนี้
                -      นักเรียนคิดว่า ดินทั้งสองภาพมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
                -      นักเรียนคิดว่า ดินในภาพทั้งสองเหมาะกับการปลูกพืชชนิดใด
๒.   ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๑ ส่วนประกอบของดิน (๑) โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
                ๑)    แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน แล้วส่งตัวแทนออกไปรับตัวอย่างดิน ๒ ชนิดจากครู
๒) นำตัวอย่างดินชนิดที่ ๑ เทบนแผ่นกระดาษ ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเม็ดดินให้กระจายทั่วแผ่นกระดาษ
๓) ใช้แว่นขยายสังเกตเนื้อดิน สี รูปร่าง และขนาดของเม็ดดิน สิ่งที่ปะปนในดิน แล้วบันทึกผลลงในใบงาน
๔) หยิบเม็ดดินเล็กน้อยลงบนฝ่ามือ แล้วใช้นิ้วถูที่ดินว่ารู้สึกอย่างไร และบันทึกผล
๕) ให้นักเรียนนำดินชนิดที่ ๒ มา แล้วทำเช่นเดียวกับดินชนิดที่ ๑
        ๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
        ๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๒
๑.      ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของดินว่าในเนื้อดินมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และส่วนประกอบแต่ละอย่างมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และมีผลทำให้เนื้อดินเป็นอย่างไร
๒.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๒ ส่วนประกอบของดิน (๒)โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑)    ให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน แล้วบันทึกผล
๒) ให้นำดินส่วนหนึ่งใส่หลอดทดลอง ๑ ใน ๔ ของหลอดทดลอง แล้วเผาบริเวณก้นหลอด     ๓-๕ นาสังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
๓)     ใส่ดินในหลอดทดลอง ใส่น้ำลงไปประมาณครึ่งหลอด เขย่าหลอด แล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม จนได้ข้อสรุป ดังนี้
                -      โดยธรรมชาติ ดินทั่วไปจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๔ ชนิด คือ
                        ๑)    อนินทรีย์วัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุ
                        ๒)  อินทรียวัตถุ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย
                        ๓)   น้ำ ได้แก่ น้ำที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน
                        ๔)   อากาศ ได้แก่ อากาศที่แทรกอยู่ระหว่างช่องของเม็ดดิน
ชั่วโมงที่ ๓-๔
๑.      ครูนำบัตรภาพการแบ่งชั้นของดินมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ตามหัวข้อดังนี้
                        -      ดินแบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
                        -      ดินแต่ละชั้น มีลักษณะอย่างไร
๒.    ครูอธิบายเรื่อง ชั้นของดินให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้นก่อนให้ทำกิจกรรม
๓.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๓ การแบ่งชั้นของดิน โดยให้  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑)    ให้นักเรียนสร้างแบบจำลองการแบ่งชั้นของดิน โดยใช้ถุงพลาสติกใส ขนาด ๖ นิ้ว x ๘ นิ้วนำดินมาใส่ในถุง โดยแบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ดินชั้นล่าง และดินชั้นบน
๒)  ให้นักเรียนพยายามจำลองส่วนผสมของดินแต่ละชั้นให้ใกล้เคียงกับลักษณะของดินจริง คือดินชั้นบน มีส่วนผสมของอินทรียวัตถุมาก (เศษใบไม้ต่างๆ ) ดินชั้นล่าง มีลักษณะอัดแน่นกว่าดินชั้นบน
3)     ให้นักเรียนวาดภาพการแบ่งชั้นของดิน และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของดินแต่ละชั้นในใบงาน
๔.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
๕.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๕
๑.    ครูนำบัตรภาพและตัวอย่างดินเหนียว ดินร่วน และดินทรายมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปราย   เกี่ยวกับลักษณะของเนื้อดินแต่ละชนิดว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร มีส่วนประกอบอะไร เหมาะสมกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง
๒.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๔ ลักษณะของดิน โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับตัวอย่างดินทั้ง ๓ ชนิด จากครู
๒) วางตัวอย่างดินแต่ละชนิดลงบนกระดาษแต่ละแผ่น แล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแยกวัสดุที่ปนอยู่ในดินออก
๓) ใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของดินทีละชนิด โดยสังเกตสีของเนื้อดิน ขนาดของเม็ดดิน ความแข็งหรือความนิ่ม และการปั้นเป็นก้อน แล้วบันทึกผล
๔)   นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์ว่า เป็นดินชนิดใด
๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
        ๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๖
๑.    ครูให้นักเรียนร้องเพลง เมืองไทยเรานี้ และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ดินในประเทศ (ในชุมชน) มีลักษณะที่ดีอย่างไร

เพลง เมืองไทยเรานี้
                                                        เมืองไทยเรานี้                      แสนดีหนักหนา
                                                ในน้ำมีปลา                                  ในนามีข้าว
                                                ทำมาหากิน                                  แผ่นดินของเรา
                                                ปลูกเรือนสร้างเหย้า                       อยู่ร่วมกันไป
                                                เราอยู่เป็นสุข                                 สนุกสนาน
                                                เราสร้างถิ่นฐาน                              เสียจนยิ่งใหญ่
                                                เมืองไทยของเรา                            แสนดีกระไร
                                                เรารักเมืองไทย                              ยิ่งชีพเราเอย

๒.   ครูนำภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ตามลักษณะของดินในแต่ละท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิดว่า ต้องมีลักษณะอย่างไร
๓.   ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑ สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน  โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
                ๑)    ให้แต่ละกลุ่มสำรวจพืชที่ปลูกในท้องถิ่นมา ๓ ชนิด
                ๒)  ให้นักเรียนใช้เสียมขุดดินบริเวณที่ปลูกพืชทั้ง ๓ ชนิด  เพื่อเก็บตัวอย่างดินใส่ถุง
                ๓)   นำดินแต่ละแห่งมาสังเกต และบันทึกผล
        ๔.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จนครบทุกกลุ่ม
        ๕.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ในหัวข้อ
                        ๑)    ลักษณะเนื้อดิน
                        ๒)  สีของดิน
                        ๓)   ความพรุน
                        ๔)   ความเป็นกรด-เบสของดิน
ชั่วโมงที่ ๗-๘
        ๑.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกระบวนการเกิดดิน และสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
        ๒.   ครูให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒ แผนภาพกระบวนการเกิดดิน โดยให้นักเรียนเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการเกิดดิน แล้วนำแผนภาพออกมาประกอบการอธิบายกระบวนการเกิดดิน
        .   ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๕  ฝึกคิด พิชิตคำถาม เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนผ่านมาเสร็จแล้วร่วมกันเฉลยคำตอบ
                    ¹  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕

๗.  การวัดและประเมินผล
วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๑  
ใบงานที่ ๑.๑  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๒  
ใบงานที่ ๑.๒  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๓  
ใบงานที่ ๑.๓  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๔  
ใบงานที่ ๑.๔  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๕  
ใบงานที่ ๑.๕  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑ เรื่อง สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒  เรื่อง แผ่นภาพกระบวนการเกิดดิน
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 
แบบทดสอบหลังเรียน
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์

๘.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            ๘.๑ สื่อการเรียนรู้
๑.    หนังสือเรียน  วิทยาศาสตร์  ป.๔
.   ใบงานที่ ๑.๑  ส่วนประกอบของดิน (๑)
๓.   ใบงานที่ ๑.๒  ส่วนประกอบของดิน (๒)
๔.   ใบงานที่ ๑.๓  การแบ่งชั้นดิน
.   ใบงานที่ ๑.๔  ลักษณะของดิน
๖.    ใบงานที่ ๑.๕  ฝึกคิด พิชิตคำถาม
.   บัตรภาพลักษณะของดิน
๘.   บัตรภาพการแบ่งชั้นของดิน
๙.    บัตรภาพประเภทของดิน
o.  บัตรภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ
        ๘.๒ แหล่งการเรียนรู้
๑.    ห้องสมุด
๒.   อินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น