วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

โครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
live broadcast

ความเป็นมา
   1. กรมสามัญศึกษาประสบปัญหาการขาดแคลนครูที่สอนระดับมัธยมศึกษาตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน มีนักเรียน 1,000 คน ต่อครู 20 คน ขณะที่ครูมัธยมในอำเภอต่างๆ มี 70-100 คน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาโท) ต่อนักเรียน 1,000 คน ในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดมีครู 185-200 กว่าคน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) ต่อนักเรียน 3,800 คน ถึง 4,000 คน กรมสามัญศึกษาพยายามแก้ไขสถานการณ์ตลอดมา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวลตั้งแต่ปี 2522 และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งให้การสนับสนุนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จำนวน 35 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้หารือประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ช่วยพัฒนามาตามลำดับจนเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเมื่อปี 2539 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่โรงเรียนวังไกลกังวลโดยทรงแนะนำให้สอนวิชาชีพ เป็นต้นกำเนิดของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
   2. เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกอบพิธีเปิดการเรียนการสอนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นกรรมการบริหาร และมีการเลือกตั้งประธานกรรมการบริหารได้แก่นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
   3. เพื่อแก้ไขการขาดแคลนครูในชนบทข้างต้น มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมดำเนินงานมาแล้วเป็นปีที่ 6 สามารถถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษา ขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดทั่วประเทศประมาณ 2,700 โรงเรียน โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนอื่นๆ ประมาณ 300 แห่ง รวม 3,000 โรงเรียน มีนักเรียนที่ได้รับพระราชทานการศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวล ประมาณ 2 ล้านคน สมาชิก UBC อีก 350,000 คน และประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม นอกจากการถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้ว สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล ยังทำการถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชน หลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติ จนถึง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล และรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเรื่องเกี่ยวกับรายการต่างๆ และการดำเนินการของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานคำแนะนำ และพระราชทานรายการชื่อ “ศึกษาทัศน์” ออกอากาศทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล ยังเป็นที่ฝึกงานของนักศึกษาปีสุดท้าย และนักศึกษาฝึกหัดจากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันราชภัฏต่างๆ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาลัยนานาชาติ ชิลเลอร์ สแตมฟอร์ด หัวหิน
หลักการและเหตุผล
         การสร้างคนหรือที่เรียกกันว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)โดยการลงทุนในด้านการศึกษาเป็นการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริงที่ยั่งยืน ตามมติ ครม ที่ นร 0215/ว(ล) 14482 ลว. 1 ธ.ค. 38 เห็นชอบในหลักการโครงการการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งได้เริ่มดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษาร่วมมือกับ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธ.ค. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ 50 ปี ได้พระราชทานทุนประเดิม 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ทูลเกล้าถวายและบริษัท ชินวัตรฯ ทูลเกล้าถวายอีก 20 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ 2539 ได้รับอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในวงเงิน 125 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2540 ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ได้รับทั้งสิ้นตั้งแต่ปี 2539-2544 จำนวน 1,340,083,900 บาท เพื่อติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา 2,668 โรงเรียน เป็นการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ เพื่อดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่มีเด็กอายุ 12 ปี จำนวน 3 ล้านคนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประถมศึกษาประมาณ 37,000 แห่งทั่วประเทศและไม่สามารถเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาได้เพราะไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาเพียงพอที่จะรองรับและเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ที่ระบุนโยบายของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี ในปีงบประมาณ 2545 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะร่วมกันดำเนินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญให้แก่โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ชั้น ม.1-3 จำนวน 3,000 โรงเรียนต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี จนถึง พ.ศ. 2554 และจะได้ทะยอยขยายให้ถึงชั้น ม.4-6 ต่อไป

โครงการโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสทั่วประเทศโดยใช้วิธีถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียม ในภาพรวมอาจแบ่งเป็น
   1. โครงการขยายโอกาสโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30,000 โรงเรียน ปีละ 3,000 โรงเรียน ภายใน 10 ปี ให้มี ม.1- ม.6 แบ่งเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ม.1-ม.3 และ ระยะที่ 2 ม.4-6 โดยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมครั้งละ 3 ชั้นเรียน เพื่อประหยัดแรงงานและงบประมาณในการติดตั้ง
   2. โครงการขยายโอกาสโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6,900 โรง ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ขยายถึง ม.3 แล้วให้ถึง ม.6 ด้วยการใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
   3. โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนที่ขาดทุนทรัพย์และต้องการรับการถ่ายทอดสดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหลักสูตรมัธยมศึกษา
หากจะขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้เพียงพอที่จะรองรับเด็กนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อายุ 12 ปี จำนวน 3 ล้านคน(ข้อมูลจาก อดีต รมว.ศธ.สุขวิช รังสิตพล) ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ก็คงขยายได้ปีละ 100 โรงเรียน และเพิ่มจำนวนนักเรียนได้เพียงปีละ 10,000 คน จะต้องใช้ระยะเวลาถึง 300 ปี ซึ่งอนาคตของชาติและอนาคตของเยาวชนอายุ 12 ปี ที่จบประถมศึกษาและไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมเรียนต่อจะต้องเสี่ยงกับปัญหายาเสพติด และปัญหาสังคมอื่นๆรอบด้าน ทั้งจะเป็นประชาชนที่ด้อยคุณภาพอีกด้วย สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมดพร้อมจะรับการถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวลนั้น กองทัพบกยินดีให้ความร่วมมือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกทั้งมูลนิธิฯสามารถจัดซื้ออุปกรณ์ในราคาที่บริษัทที่ผลิตลดให้ในราคาพิเศษเป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดงบประมาณและเวลาในการติดตั้งปีละ 3,000 โรงเรียน เป็นเวลา 10 ปี เพื่อสอดคล้องกับนโยบายการปฎิรูปการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
   ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2539-2545  เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู อุปกรณ์ คู่มือและตารางการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ปัญหามาตรฐานของสถานศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเขตเมืองและชนบทห่างไกลจึงได้ติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณดาวเทียมให้โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6
   ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2545-2554 ขยายการศึกษาระดับประถมศึกษาทั่วประเทศให้ได้รับการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.1-ม.6)
เป้าหมาย
   1. ปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดำเนินการมาเป็นปีที่ 6แล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ครบกำหนดอายุใช้งาน จำเป็นจะต้องรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนด
   2. ขยายการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6 ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง
  3. กำลังดำเนินการขยายการออกอากาศภาคภาษาอังกฤษสำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับ พระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อปี พ.ศ. 2543 และผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษ

การดำเนินงาน
         หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมที่เกี่ยวข้องร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงาน ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษาโดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมรับผิดชอบในระดับมัธยมศึกษา ถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้ ครบทุกโรงเรียนจำนวน 2,668 โรงเรียน โดยติดตั้งชั้นละ 1 ห้องเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติขอความร่วมมือจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในการต่อยอดโรงเรียนประถมศึกษา ให้ขยายเป็น ม.1-ม.3 และม.4-ม.6 โดยใช้วิธีถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และมูลนิธิฯ จัดส่งคู่มือครูและตารางการเรียนการสอนไปให้โรงเรียนปลายทางล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30,000 โรงเรียน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติยังไม่ได้ขยายโอกาส จะเริ่มใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับชั้น ม.1- ม.6 แบ่งเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ม.1-ม.3 และ ระยะที่ 2 ม.4-ม.6 โดยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมครั้งละ 3 ชั้นเรียน
         โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 6,900 โรงเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ขยายแล้วถึง ม.3 จะใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขยายให้ถึง ม.6 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) รับผิดชอบในการผลิตหลักสูตรสื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จะเริ่มดำเนินการวางแผนอบรมครูและจัดทำโปรแกรม วิธีการ ตลอดจนผลิตหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนออกอากาศโดยผ่านระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
         หน่วยงานอื่นๆ ที่พร้อมให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษา ชุมชน อาทิ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในจังหวัดต่างๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฯลฯ
ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนปลายทาง เช่น การจัดแสงสว่างภายในห้องเรียน การติดตั้งเครื่องรับโทรทัศน์ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน และในตำแหน่งที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดปัญหาแสงสะท้อนบนจอเครื่องรับโทรทัศน์ได้ รวมทั้งการจัดส่งตารางสอนและคู่มือครูการสอนทางไกลให้ถึงโรงเรียนปลายทางก่อนเปิดเทอมโดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนี้ ได้พระราชทานรายการพิเศษชื่อ “ศึกษาทัศน์”

หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือและการสนับสนุน
   - กองทัพบก ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนปลายทางทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ค่าติดตั้ง ค่าขนส่ง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ
   - องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือไม่คิดค่าบริการโทรศัพท์และ โทรสาร จำนวน 4 เลขหมาย และค่าเช่าสายเคเบิ้ลใยแก้วจากสถานีส่งโรงเรียนวังไกลกังวลหัวหิน ถึงสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินที่ลาดหลุมแก้ว 2 ชุด (ทางบก-ทางทะเล) เป็นการโดยเสด็จพระราชกุศล
   - การสื่อสารแห่งประเทศไทย ไม่คิดค่าบริการโทรศัพท์และโทรสารระหว่างประเทศในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน วันละ 1 ชั่วโมง สำหรับรายการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมภาคภาษาอังกฤษ
   - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำนวยความสะดวกในเรื่องไฟฟ้า
   - กระทรวงศึกษาธิการ จัดครู อาจารย์ ประจำวิชามาร่วมสอนออกอากาศ
   - บริษัทที่ผลิตเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม IRD ลดราคาพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง 
         ความร่วมมือกับต่างประเทศ มูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ อาทิ UNESCO , FAO , SEAMEO และมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งอธิการบดีเป็นประธานโครงการมหาวิทยาลัยเสมือนจริงแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ในกรอบของ SEAMEO ซึ่งครอบคลุม 6 ประเทศ ได้แก่ จีน(คุนหมิง) กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียตนาม เนื่องจากกิจกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิฯเป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศ จึงมีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างประเทศ เอกอัครราชทูต ผู้แทนสถานทูต ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของเอกชนต่างประเทศมาขอศึกษาดูงานที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล อาทิ ผู้แทน JICA ญี่ปุ่นที่ประจำลาวและกัมพูชา ประธาน Nippon Foundation ประธานบริษัท อาซาฮีกลาส Executive Director ของ Sasakawa Peace Foundation ประเทศญี่ปุ่น และผู้บริหารจากบริษัทมิตซุย บริษัทโซนี่ เอกอัครราชทูตเยอรมนี เอกอัครราชทูตพม่า เอกอัครราชทูตจีน ที่ปรึกษาสถานทูตลาว ผู้แทนสถานทูตญี่ปุ่น และเวียตนาม และสื่อมวลชนต่างประเทศ อาทิ NHK ของญี่ปุ่น และCNN จากสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ในส่วนของฝ่ายไทย คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการการศึกษาและ วัฒนธรรม วุฒิสภา ตลอดจนอดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มาเยี่ยมชมการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
         มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้รับคำขอและการสนับสนุนจากมูลนิธิ ซาซากาวา (The Sasakawa Peace Foundation) ประเทศญี่ปุ่น ให้จัดการฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์เรื่องการจัดการและเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้แก่สี่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม ถึง 2 ครั้ง ทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ ในเดือนมกราคมและพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2543 ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีรายการทางการศึกษาจำนวน 6 ช่อง คือ ช่อง11 , 12 , 13 , 14 , 15 ,16 ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และกำลังดำเนินการจัดช่องออกอากาศอีก 1 ช่อง เป็นรายการภาคภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2545 ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ กล่าวคือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม ที่ได้รับพระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเทศละ 6 ชุด เมื่อครั้งมาฝึกอบรมที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวลฯ หัวหิน ในกรณีของเวียตนามนั้นได้รับพระราชทานไปก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2541 6 ชุด ได้นำไปติดตั้งที่ Industrial Technical and Economic Junior College No.1 ณ กรุงฮานอย ส่วนที่ได้รับพระราชทานในปี พ.ศ. 2543 อีก 6 ชุด ได้นำไปติดตั้งที่ Hanoi Open University รวมเป็น 12 ชุด ปรากฎผลว่า ได้นำไปใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาชุมชน ภาษาต่างประเทศ และศิลปวัฒนธรรม ส่วนลาวได้นำไปติดตั้ง 5 จุด ณ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กม.8 โรงเรียนบำรุงวัฒนธรรมกระทรวงภายในหลัก 67 โรงเรียนเด็กกำพร้ากระทรวงภายในหลัก 62 และแผนกศึกษาแขวงบ่อแก้ว ส่วนกัมพูชาและพม่ากำลังดำเนินการ
ในเดือนมิถุนายน 2544 ศ.ดร.บุญเตียม พิดสะไหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี ประธานสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศลาวและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ
         เจ้าหน้าที่กรมสามัญศึกษาลาว ได้มาเยี่ยมชมกิจการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27 จังหวัดหนองคาย และโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาซึ่งใช้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมหลายโรงเรียน ศ.ดร.บุญเตียม ได้ทดลองติดต่อทางโทรศัพท์กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล และร่วมในการประชุมทางโทรทัศน์ (TV Conference) กับโรงเรียนปลายทางที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดศรีสะเกษด้วย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   1. เป็นการสร้างอนาคตทางการศึกษาให้แก่เยาวชนของชาติให้มีโอกาสเรียนการศึกษาภาคบังคับขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี ตามพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ในการแก้ไขภาวะการณ์ที่โรงเรียนมัธยมศึกษาไม่เพียงพอที่จะรองรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขาดแคลนภายใน 10 ปี การใช้การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมเป็นการประหยัดงบประมาณและมีกำหนดเวลาที่แน่ชัด
   2. เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูมัธยมศึกษาที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น สัดส่วนครูต่อนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน มีนักเรียน 1,000 คน ต่อครู 20 คน ขณะที่ครูมัธยมในอำเภอต่างๆ มี 70-100 คน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาโท) ต่อนักเรียน 1,000 คน ในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดมีครู 185-200 กว่าคน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) ต่อนักเรียน 3,800 คน ถึง 4,000 กว่าคน
   3. เป็นการแก้ปัญหาความขาดแคลนงบประมาณ ครูผู้สอน เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนตลอดจนห้องเรียนให้เพียงพอกับความต้องการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีครูลาออกก่อนเกษียณอายุจำนวนประมาณ 40,000 คน งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถูกตัดมากมาย ถ้าสร้างให้ครบตามเกณฑ์กระทรวงศึกษาธิการ ก็คงต้องใช้ระยะเวลาไม่รู้กี่ปี จากการจัดการเรียนรวม ก็สามารถใช้การเรียนการสอนตามคู่มือและตารางการเรียนการสอนของโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งมูลนิธิฯ จัดพิมพ์และส่งไปยังโรงเรียนปลายทางโดยไม่คิดมูลค่า
   4. การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาเดียวกัน เวลาเดียวกัน มาตรฐานและคุณภาพเดียวกันระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนในชนบท
   5. การถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชนผ่านดาวเทียมไปถึงระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรวิชาชีพ (ระยะสั้น ปกติ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส)) ที่วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลรับผิดชอบ หรือ หลักสูตรอุดมศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชรับผิดชอบสอนออกอากาศทุกวัน เป็นการศึกษาชุมชนที่ทำให้ครอบครัวและหมู่บ้านไกลคมนาคมมีโอกาสได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตและเพิ่มพูนรายได้
   6. การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาทั้ง 6 ชั้นเรียน ทางสถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่อง ตลอด 24 ชั่วโมงไปยังโรงเรียนมัธยมในสังกัดกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศประมาณ 2,700 โรงเรียน ตลอดจนโรงเรียนเอกชน โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนอื่นๆประมาณ 300 แห่ง รวมกว่า 3,000 โรงเรียน ตลอดจนการถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชน สรุปได้ว่าการถ่ายทอด 24 ชั่วโมง ทาง UBC ช่อง 11-16 นั้น ครอบคลุมสมาชิก UBC อีก 350,000 คน และประเทศเพื่อนบ้านอีก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียตนาม ซึ่งได้รับพระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เท่ากับได้รับพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 2545 มูลนิธิฯ กำลังจะจัดทำรายการการศึกษาทางไกลภาคภาษาอังกฤษให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และผู้ที่สนใจในภาคภาษาอังกฤษ สรุปว่ากิจกรรมทั้งหมดก็คือการส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณภาพ จริยธรรม และการศึกษาตลอดชีวิต
   7. ความสามารถในการโต้ตอบสื่อสาร 2 ทาง (interactive)ในลักษณะ TV conference ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนและครูโรงเรียนปลายทางกับโรงเรียนต้นทาง ติดต่อซักถาม สอบถามปัญหา หรือข้อสงสัยได้ทันที ทางโทรศัพท์และโทรสาร 4 เลขหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เท่ากับเป็นการพัฒนาครูต้นทางและปลายทางไปพร้อมๆกัน และเป็นการปรับปรุงยกระดับครูตลอดจนผู้บริหารอีกด้วยในอนาคตเมื่อมีโทรศัพท์จัดตั้งระบบที่เห็นภาพผู้ที่อยู่ต้นทางและปลายทาง ทางโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็สามารถถ่ายทอดออกมาทางจอภาพโทรทัศน์ได้เช่นกัน

หมายเหตุ
   1. การที่มูลนิธิฯ ไม่ได้ระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช) มีความจำเป็นที่จะต้องมีการสอนสดผ่านดาวเทียมตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 จำนวน 30,000 โรงเรียน เพราะ สปช เป็นต้นสังกัดของโรงเรียนประถมศึกษาเหล่านั้นอยู่แล้ว และสิ่งที่คงขาดและมีความต้องการให้มูลนิธิฯสนับสนุนให้ได้รับการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมขึ้นไป คือ ม.1 ถึง ม.6 สำหรับ 6,900 โรงเรียน ที่ได้ขยายถึง ม.3 ก็จะได้ขยายไปถึง ม.4-5-6
   2. มูลนิธิฯ มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนครูระดับมัธยม แต่ในอนาคตถ้ามีการขาดแคลนครูในชั้นประถม มูลนิธิฯก็สามารถที่จะช่วย สปช ได้ด้วยการขอจัดตั้งสถานีวิทยุการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 6 ชั้นเรียน (ในอนาคตอาจจะมีครูลาออกก่อนเกษียณเพิ่มขึ้นและจะประสบการขาดแคลนครูประถมศึกษาเช่นเดียวกับครูระดับมัธยม)

ข้อมูล : มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
 

นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ กับการใช้เทคโนโลยีในการตัดสินการกระทำของแต่ละบุคคล (อธิบายเหตุผลประกอบ)

          เห็นด้วย เพราะว่าอินเตอร์เน็ท เปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความรู้สึกต่อ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  การล่าแม่มดในยุคกลาง เป็นเรื่องของการที่ชนชั้นปกครองต้อง
การจะกำจัด คู่แข่งทางการเมือง จึงทำการสร้างเรื่อง ใส่ร้าย ป้ายสี ฝ่ายตรง
กันข้าม
          แต่สิ่งที่ปัจจุบันเกิดขึ้นในอินเตอร์เน็ทคือการที่ทุกคน ให้ความเห็นต่อ 
ชนชั้นปกครองและการเมืองซึ่งในอดีตเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ถูก
ปกครองอย่างพวกเรา จะรวมกลุ่มแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ชนชั้
นปกครอง
       อินเตอร์เน็ตกลายเป็นสื่อกลางในการระบายความเคียดแค้น และเป็นตัว
กระตุ้นให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ "ล่าเนื้อมนุษย์" ซึ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
จะตามล่าและเปิดโปงโฉมหน้าบุคคลที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นผู้กระทำผิด

         เครื่องมือดังกล่าวทำให้เราสามารถแสดงความรู้สึก ความเชื่อ และ
ความคิดเห็นได้ง่ายขึ้นการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนเป็นสิ่งที่ดี แต่เรา
จำเป็นต้องทราบถึงขอบเขตของการแสดงออก และการใช้เว็บไซต์สังคม
ออนไลน์อย่างไรในทางบวก  เราจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการควบคุม 
ว่าอะไรเป็นการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และอะไรคือการคุกคาม
       

เทคโนโลยีในท้องถิ่นที่สนใจ (การทำน้ำส้มควันไม้)



การทำน้ำส้มควันไม้
           น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการ
ควบแน่นของควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่าน
ถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน
จะควบแน่นเป็นหยดน้ำส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติกมีความเป็นกรดต่ำ
มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น
คือน้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง)
แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

วัสดุอุปกรณ์
  1. อิฐ   500  ก้อน
  2. ถังน้ำมัน  200  ลิตร  2  ถัง
  3. ไม้ไผ่ยาว  8  เมตร พร้อมเจาะรู จำนวน  2 ลำ
  4. ความกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.15  เมตร สูง 60 ซม
ประโยชน์น้ำส้มควันไม้
          น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์
ทางการ
เกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสาร
เร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้มีการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ใน
อุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่มใช้ผลิตยารักษาโรค
ผิวหนัง เป็นต้น  เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูงดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้
ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้
-  เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้  ให้เกิดประโยชน์
-  ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม
-  แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้


ด้านครัวเรือน
  1. น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด
  2. น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด
  3. น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ
  4. น้ำส้มควันไม้  100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลง  
ด้านการเกษตร
-  ผสมน้ำ  20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
-  ผสมน้ำ 50 เท่า  ฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
-  ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา


ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน
- ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม
- ใช้ย้อมผ้า
- ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
- เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์
- เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ
- น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด 

  รม เคลือบ หรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ
                                                              
วีธีการเผา
          ใส่ไม้ลงถัง 200 ลิตร ประมาณ 80 ก.ก. โดยเริ่มเก็บน้ำส้มที่อุณหภูมิ
ปากปล่อง 80 องศา  และหยุดเก็นที่ 150 องศา โดยอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่มี
สารก่อมะเล็ง ใช้เวลาเผา 10 ชม. ได้ถ่าน 15 ก.ก ได้น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร


ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็น

   ตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลัง

   จากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอก
   จะร่วงง่าย


ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้
-  ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
-  น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
-  น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น

   เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว


การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์

                น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำไปใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจาก
การเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควัน
ที่ผสมกันระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน และสารระเหยง่ายปน
ออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะ
จะไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้น
หากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อ
เก็บน้ำส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วงและมีการทำให้น้ำส้มควันไม้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้โดย
นำถ่านล้างน้ำให้สะอาดตากให้แห้งบดเป็นผง  (อัตราส่วนน้ำส้มควันไม้  100 ลิตร / 
ผงถ่านบด 5 กก. )กวนให้เข้ากันทิ้งไว้ 45 วันสารที่ก่อมะเร็งจะตกอยู่ชั้นกลาง  
ใส่ภาชนะทิ้งไว้อีก 45 วันให้ตกตะกอนซึ่งก็คือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้นั้นเอง 
ส่วนชั้นล่างสุดนั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ เราสามารถนำไปกำจัดปลวกได้

การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม

                การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสง

และไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้งน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสี
อันตราไวโอเลต ในแสงอาทิตย์กลายเป็นน้ำมันดินซึ่งในน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย
และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี


ที่มา: http://www.sirikitdam.egat.com

ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

ลูกคิด ( Abacus)
  • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
  • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
  • [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด
Pascal’s Calculato
  • [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)

กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )
  • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ

บัตรเจาะรู
  • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

    Differnce Engine
  • [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
  • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    Atansoff

    ABC computer

    Berry
  • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
  • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู
    ENIAC
  • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

EDVAC
(first stored program computer)
  • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)



    ทรานซีสเตอร์ (Transistor)
  • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

    IC
  • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

    Microprocessor
  • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
  • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507



ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์
เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte
ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก
เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง
ถึงยุค Z80
เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
Computer เครื่องแรกของ IBM
ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง
กำเนิด แอปเปิ้ล
ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด
อ้างอิงจาก 
http://www.sanambin.com
http://www.wikipedia.com

แผนจัดการเรียนรู้ที่ ๖ เรียนรู้เรื่องดิน

หน่วยการเรียนรู้ ๓ เรื่อง  ดินในท้องถิ่นของเรา

รหัสวิชา ๑๖๑๐๑                                                                                กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔     แผนจัดการเรียนรู้ที่ ๖ เรียนรู้เรื่องดิน        เวลา  ๘  ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ ๑                    ผู้สอน  สุริยา อินอร                      โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๔๖ (ดอกคำใต้)
                                                                                                                             

๑.   สาระสำคัญ
        ดินเกิดจากหินที่ผุพังผสมกับซากพืชซากสัตว์ ในดินมีส่วนประกอบของเศษหิน อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดดินหลายชนิด พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตในดินที่แตกต่างกัน
๒.  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
.  ตัวชี้วัด
ว ๖.๑      ป.๔/๑    สำรวจและอธิบายการเกิดดิน
              ป.๔/๒   ระบุชนิดและสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชในท้องถิ่น          
ว ๘.๑     ป.๔/๑    ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ    
ป.๔/๒   วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ  หรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
        ป.๔/๓   เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
        ป.๔/๔   บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอผล สรุปผล
        ป.๔/๕   สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
        ป.๔/๖    แสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
        ป.๔/๗   บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
    ป.๔/๘     นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
๒.๒ จุดประสงค์การเรียนรู้
    ๑.    อธิบายกระบวนการเกิดของดินได้
    ๒.   อธิบายส่วนประกอบของดินได้
    ๓.   อธิบายลักษณะของชั้นดินได้
    ๔.   บอกลักษณะของดินในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชได้

๓.  สาระการเรียนรู้
๑.    กระบวนการเกิดดิน
.   ส่วนประกอบของดิน (อนินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุ น้ำ อากาศ)
๓.   การแบ่งดินตามชั้นดิน (ดินชั้นบน ดินชั้นล่าง)
๔.   ลักษณะของดิน (ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย)
๕.   สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
๔.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๔.๑ ความสามารถในการคิด
        -  ทักษะการคิดวิเคราะห์
        -  ทักษะการคิดสังเคราะห์
๔.๒    ความสามารถในการแก้ปัญหา
        -  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๔.๓   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
        -  กระบวนการทำงานกลุ่ม
๕.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.   มีวินัย
๒.  ใฝ่เรียนรู้
๓.  มุ่งมั่นในการทำงาน
๖.   กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์) 
                    ¹  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕
ชั่วโมงที่ ๑
๑.      ครูนำบัตรภาพลักษณะของดิน ๒ ภาพ มาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อ ดังนี้
                -      นักเรียนคิดว่า ดินทั้งสองภาพมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
                -      นักเรียนคิดว่า ดินในภาพทั้งสองเหมาะกับการปลูกพืชชนิดใด
๒.   ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๑ ส่วนประกอบของดิน (๑) โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
                ๑)    แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน แล้วส่งตัวแทนออกไปรับตัวอย่างดิน ๒ ชนิดจากครู
๒) นำตัวอย่างดินชนิดที่ ๑ เทบนแผ่นกระดาษ ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเม็ดดินให้กระจายทั่วแผ่นกระดาษ
๓) ใช้แว่นขยายสังเกตเนื้อดิน สี รูปร่าง และขนาดของเม็ดดิน สิ่งที่ปะปนในดิน แล้วบันทึกผลลงในใบงาน
๔) หยิบเม็ดดินเล็กน้อยลงบนฝ่ามือ แล้วใช้นิ้วถูที่ดินว่ารู้สึกอย่างไร และบันทึกผล
๕) ให้นักเรียนนำดินชนิดที่ ๒ มา แล้วทำเช่นเดียวกับดินชนิดที่ ๑
        ๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
        ๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๒
๑.      ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของดินว่าในเนื้อดินมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และส่วนประกอบแต่ละอย่างมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และมีผลทำให้เนื้อดินเป็นอย่างไร
๒.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๒ ส่วนประกอบของดิน (๒)โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑)    ให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน แล้วบันทึกผล
๒) ให้นำดินส่วนหนึ่งใส่หลอดทดลอง ๑ ใน ๔ ของหลอดทดลอง แล้วเผาบริเวณก้นหลอด     ๓-๕ นาสังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
๓)     ใส่ดินในหลอดทดลอง ใส่น้ำลงไปประมาณครึ่งหลอด เขย่าหลอด แล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม จนได้ข้อสรุป ดังนี้
                -      โดยธรรมชาติ ดินทั่วไปจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๔ ชนิด คือ
                        ๑)    อนินทรีย์วัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุ
                        ๒)  อินทรียวัตถุ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย
                        ๓)   น้ำ ได้แก่ น้ำที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน
                        ๔)   อากาศ ได้แก่ อากาศที่แทรกอยู่ระหว่างช่องของเม็ดดิน
ชั่วโมงที่ ๓-๔
๑.      ครูนำบัตรภาพการแบ่งชั้นของดินมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ตามหัวข้อดังนี้
                        -      ดินแบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
                        -      ดินแต่ละชั้น มีลักษณะอย่างไร
๒.    ครูอธิบายเรื่อง ชั้นของดินให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้นก่อนให้ทำกิจกรรม
๓.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๓ การแบ่งชั้นของดิน โดยให้  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑)    ให้นักเรียนสร้างแบบจำลองการแบ่งชั้นของดิน โดยใช้ถุงพลาสติกใส ขนาด ๖ นิ้ว x ๘ นิ้วนำดินมาใส่ในถุง โดยแบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ดินชั้นล่าง และดินชั้นบน
๒)  ให้นักเรียนพยายามจำลองส่วนผสมของดินแต่ละชั้นให้ใกล้เคียงกับลักษณะของดินจริง คือดินชั้นบน มีส่วนผสมของอินทรียวัตถุมาก (เศษใบไม้ต่างๆ ) ดินชั้นล่าง มีลักษณะอัดแน่นกว่าดินชั้นบน
3)     ให้นักเรียนวาดภาพการแบ่งชั้นของดิน และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของดินแต่ละชั้นในใบงาน
๔.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
๕.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๕
๑.    ครูนำบัตรภาพและตัวอย่างดินเหนียว ดินร่วน และดินทรายมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปราย   เกี่ยวกับลักษณะของเนื้อดินแต่ละชนิดว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร มีส่วนประกอบอะไร เหมาะสมกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง
๒.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ ๑.๔ ลักษณะของดิน โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
๑) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับตัวอย่างดินทั้ง ๓ ชนิด จากครู
๒) วางตัวอย่างดินแต่ละชนิดลงบนกระดาษแต่ละแผ่น แล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแยกวัสดุที่ปนอยู่ในดินออก
๓) ใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของดินทีละชนิด โดยสังเกตสีของเนื้อดิน ขนาดของเม็ดดิน ความแข็งหรือความนิ่ม และการปั้นเป็นก้อน แล้วบันทึกผล
๔)   นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์ว่า เป็นดินชนิดใด
๓.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
        ๔.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ ๖
๑.    ครูให้นักเรียนร้องเพลง เมืองไทยเรานี้ และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ดินในประเทศ (ในชุมชน) มีลักษณะที่ดีอย่างไร

เพลง เมืองไทยเรานี้
                                                        เมืองไทยเรานี้                      แสนดีหนักหนา
                                                ในน้ำมีปลา                                  ในนามีข้าว
                                                ทำมาหากิน                                  แผ่นดินของเรา
                                                ปลูกเรือนสร้างเหย้า                       อยู่ร่วมกันไป
                                                เราอยู่เป็นสุข                                 สนุกสนาน
                                                เราสร้างถิ่นฐาน                              เสียจนยิ่งใหญ่
                                                เมืองไทยของเรา                            แสนดีกระไร
                                                เรารักเมืองไทย                              ยิ่งชีพเราเอย

๒.   ครูนำภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ตามลักษณะของดินในแต่ละท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิดว่า ต้องมีลักษณะอย่างไร
๓.   ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑ สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน  โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
                ๑)    ให้แต่ละกลุ่มสำรวจพืชที่ปลูกในท้องถิ่นมา ๓ ชนิด
                ๒)  ให้นักเรียนใช้เสียมขุดดินบริเวณที่ปลูกพืชทั้ง ๓ ชนิด  เพื่อเก็บตัวอย่างดินใส่ถุง
                ๓)   นำดินแต่ละแห่งมาสังเกต และบันทึกผล
        ๔.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จนครบทุกกลุ่ม
        ๕.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ในหัวข้อ
                        ๑)    ลักษณะเนื้อดิน
                        ๒)  สีของดิน
                        ๓)   ความพรุน
                        ๔)   ความเป็นกรด-เบสของดิน
ชั่วโมงที่ ๗-๘
        ๑.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกระบวนการเกิดดิน และสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
        ๒.   ครูให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒ แผนภาพกระบวนการเกิดดิน โดยให้นักเรียนเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการเกิดดิน แล้วนำแผนภาพออกมาประกอบการอธิบายกระบวนการเกิดดิน
        .   ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๕  ฝึกคิด พิชิตคำถาม เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนผ่านมาเสร็จแล้วร่วมกันเฉลยคำตอบ
                    ¹  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕

๗.  การวัดและประเมินผล
วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๑  
ใบงานที่ ๑.๑  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๒  
ใบงานที่ ๑.๒  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๓  
ใบงานที่ ๑.๓  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๔  
ใบงานที่ ๑.๔  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ ๑.๕  
ใบงานที่ ๑.๕  
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๑ เรื่อง สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ ๕.๒  เรื่อง แผ่นภาพกระบวนการเกิดดิน
ระดับคุณภาพ ๒ ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 
แบบทดสอบหลังเรียน
ร้อยละ ๖o ผ่านเกณฑ์

๘.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            ๘.๑ สื่อการเรียนรู้
๑.    หนังสือเรียน  วิทยาศาสตร์  ป.๔
.   ใบงานที่ ๑.๑  ส่วนประกอบของดิน (๑)
๓.   ใบงานที่ ๑.๒  ส่วนประกอบของดิน (๒)
๔.   ใบงานที่ ๑.๓  การแบ่งชั้นดิน
.   ใบงานที่ ๑.๔  ลักษณะของดิน
๖.    ใบงานที่ ๑.๕  ฝึกคิด พิชิตคำถาม
.   บัตรภาพลักษณะของดิน
๘.   บัตรภาพการแบ่งชั้นของดิน
๙.    บัตรภาพประเภทของดิน
o.  บัตรภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ
        ๘.๒ แหล่งการเรียนรู้
๑.    ห้องสมุด
๒.   อินเทอร์เน็ต